วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 16 เวลา 08.30 - 12.20 น.



วันนี้เป็นการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยคลละ 1 เพลง จากนั้นอาจารย์ได้มอบรางวัลเด็กดีให้กับคนที่มาเรียนครบทุกวันและตั้งใจเรียนค่ะ




เป็นครั้งแรกที่ได้รางวัลจากอาจารย์เบียร์ (จับสลากได้ อิอิ )


ภาพทรงจำของห้องเรียนเรา







การนำความรู้กับไปใช้
     ได้เรียนรู้ในเรื่องของการร้องเพลง ซึ่งควรต้องฝึกการร้อยเพลงให้เก่งและเพราะมากกว่านี้ เพราะอนาคตการร้องเพลงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ประเมิน

ประเมินตนเอง: วันนี้หนูตั้งใจสอบร้องเพลงเป็นอย่างมากค่ะ ยอมรับค่ะว่าไม่ได้เตรียมความพร้อมเม่าไหร่ แอบตื่นเต้นนิดๆ

ประเมินเพื่อน: เพื่อนทุกคนมีความพร้อมมากในการร้องเพลง เพื่อนบางคนร้องเพลงแบบสนุดๆ ผิดบางแต่อาจารย์ก็ให้โอกาศเพื่อนทุกๆคนค่ะ 

ประเมินอาจารย์: ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้พวกหนูอย่างเต็มที่หนูจะนำความรู้ที่อาจารย์มอบให้ไปใช้ประโยชน์กับการดำรงชีวิตให้ได้มากที่สุดค่ะ ขอบคุณที่คอยสั่งสอน อบรม ให้พวกหนูเป็นคนดี ประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหลาย ที่เคยได้มีความสุขร่วมกับอาจารย์ ที่เคยหัวเราะ นหนูจะเก็บความทรงจำที่ดีเหล่านี้ไว้ค่ะ รักมากกกกมายยย รักอาจารย์เบียร์มากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ใส่ใจหนู คอยถาม คอยเมตตา คอยให้กำลัง รักอาจารย์เบียร์ที่สุดเลยค่ะ ^^

 





บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 15 เวลา 08.30 - 12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

   
ก่อนที่จะเข้าเรียน อาจารย์ได้ให้นักศูกษาทุกคนทำแบบทดสอบจิตวิทยา ชื่อแบบทดมอบ ดิ่งพสุธา จากนั้น อาจารย์ได้สอนภาคทษฏี ในเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualozed Education Program โดยมีหัวข้อในการเรียน ดังนี้

แผน IEP
- การเขียนแผน IEP
- ส่วนประกอบของแผน IEP
- ประโยชน์ต่อเด็ก
- ประโยชน์ต่อครู
- ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
    - การกำหนดจุดมุ่งหมาย
    - จุดมุ่งหมายระยะยาว
    - จุดมุ่งหมายระยะสั้น
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล
- การจัดทำแผน IEP
        จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยให้นักศึกษาจับกลุ่มๆละ 5 คน แล้วช่วยกันเขียนแผน IEP โดยการเขียนแผน อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนจำนวนกี่ทักษะก็ได้ โดยให้สมมุติว่าเพื่อนในกลุ่ม 1 คน เป็ฯเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยกลุ่มดิฉันได้สมมุติให้นางสาว ธนาภรณ์ ใจกล้า ( ปุ้ย) เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ท้ายคราบเรียนอาจารย์ให้ทักศึกษาทุกคนส่งแผน


สรุป     
ในการเรียนครั้งนี้ทำให้ดิฉันทราบถึงการเขียนแผน IEP นั้นต้องใช้ระยะเวลาในการเขียนเท่าไหร่ และมีวิธีการเขียนที่มีความระเอียดและชัดเจน เพื่อที่จะต้องนำไปใช้กับเด็กได้จริง แผน IEP นั้น จะเขียนในระยะเวลาที่นาน (ขึ้นอยู๋กับอาการของเด็ก) จากกิจกรรมที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าครูทุกคนมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะเขียนแผนออกมาให้สอดคล้องและตรงตามพฤติกรรม คนเป็นครูต้องคำนึงถึงหลายๆเหตุและปัจจัย ทุกก้าวเดินของครูจึงมีความอันตราย เพราะอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตครูคือการต้องดูแลเด็กๆทุกคน สำคัญเป็นอย่างมากครูจะต้องปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากเด็หที่มีความต้องการพิเศษให้ได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเขียนแผน IEP เพื่อนำไปปรับใช้ปรับพฤติกรรมเด็กพิเศษได้ในชีวิตจร้ง
  2. สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้เป็ฯแนวทางในการเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากยิ่งขึ้น
  3. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเขียนแผน IEP ของตนเองให้เกิดความสมบรูณ์  เหมาะสม และถูกต้องตามหลักการ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ในวันนี้เข้าเรียนก่อนเวลาและแต่งกายสุภาะเรียนร้อย เพื่อนๆๆในห้องส่วนใหญ่มาสายกัน เนื่องจากหาห้องเรียนไม่เจอ วันนี้มีการเรียนรวมทั้ง 2 กลุ่ม ทำให้ในห้องเรียนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นและ ทำให้ ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานเป็นพิเศษ ดิฉันตั้งใจเรียน และร่วมตอบคำถามแบบทดสอบจิตวิทยา และตั้งใจเขียนแผน IEP อย่างเต็มที่ค่ะ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียนร้อย เพื่อนๆส่วนใหญ๋มาสาย เพราะ หาห้องเรียนไม่เจอค่ะ บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้สนุกสนาน และเพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนเป็นอย่างมากเพราะเรื่องที่เรียนในวันนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และแต่งกายสุภาะค่ะ อาจารย์มีการเตรียมแบบทดสอบจิตวิทยามาให้นักศึกษาทำก่อนเริ่มเรียน เพื่อจะทราบทัศนคติของนักศึกษา เป็นผ่อนคลายให้นักศึกษาไม่ตึงเครียดก่อนที่จะเริ่มเข้าสู้บทเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ วันนี้อาจารย์ได้สอนแผน IEP ได้อย่างเข้าใจและละเอียดมากๆค่ะ อาจารย์ได้ใช้การอธิบายด้วยความเข้าใจให้นักศึกษาทุกคนรับความรู้ได้มากที่สุดค่ะ




วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 14 เวลา 08.30 - 12.20 น. 


หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดวันสงกรานต์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 13 เวลา 08.30 - 12.20 น. 



หมายเหตุ วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 12 เวลา 08.30 - 12.20 น. 


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 11 เวลา 08.30 - 12.20 น. 



 วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบเก็บคะแนน 10 คะแนน ในรายวิชา
  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย วัดความรู้ที่ได้เรียนมา



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 10 เวลา 08.30 - 12.20 น.


เนื้อหาที่เรียน ...

       การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
  • การกินอยู่
  • การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว 
  • กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

  การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

  ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ                                           
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

  หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ 
  • "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" 

  จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • ช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

  ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน

  การเข้าส้วม
  1. เข้าไปในห้องส้วม
  2. ดึงกางเกงลงมา
  3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  8. ดึงกางเกงขึ้น
  9. ล้างมือ
  10. เช็ดมือ
  11. เดินออกจากห้องส้วม

  สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

      กิจกรรม ...

    กิจกรรมศิลปะบำบัด โดยอาจารย์แจกกระดาษ 100 ให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้ระบายสีเป็นวงกลม
หลายๆวง เมื่อระบายเสร็จแล้วอาจารย์ก็อธิบายว่าการระบายสีของแต่ละคนบงบอกถึงนิสัยตนเอง
อย่างไร และสุดท้ายก็ให้นำผลงานของแต่ละคนไปติดเป็นต้นไม้ ดังรูป





       กิจกรรม ...

   ประเมินตนเอง : เข้าห้องเรียนสาย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตั้งใจทำกิจกรรม มีความสุข
 ในการเรียน

   ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกันตอบคำถาม ทำกิจกรรมอย่างเต็มที่กันทุกคน

   ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมสนุกๆคลายเคลียดมาให้ทำเสมอ 
 สอนเข้าใจง่าย อาจารย์น่ารักที่สุดเลยค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 9 เวลา 08.30 - 12.20 น.


ทักษะทางภาษา

  การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

  การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง

  การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  "พูดช้าๆ" "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

  ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

  ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
กิจกรรม
กิจกรรมดนตรีบำบัด โดยอาจารย์ให้แบ่งคู่ 2 คน แล้วแจกกระดาษค่ละ 1 แผ่น 
 สีเทียนคนละ 1 แท่ง แล้วอาจารย์ก็บอกว่าจะให้ลากเส้นเป็นเส้นตรงและก็เปิดเพลงให้ฟัง พอเพลงจบ  ก็ให้ระบายสีลงช่องที่เป็นช่องปิด ตามเส้นที่เราวาด


ประเมิน ...

   ประเมินตนเอง : เข้าห้องเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตั้งใจทำกิจกรรม มีความสุข
 ในการเรียน

   ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกันตอบคำถาม ทำกิจกรรมอย่างเต็มที่กันทุกคน

   ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมสนุกๆคลายเคลียดมาให้ทำเสมอ 
 สอนเข้าใจง่าย อาจารย์น่ารักที่สุดเลยค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 8 เวลา 08.30 - 12.20 น



หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดนักขัตฤกษ์ "วันมาฆบูชา"


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 7 เวลา 08.30 - 12.20 น. 


หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 6 เวลา 08.30 - 12.20 น. 


 เนื้อหาที่เรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 1. ทักษะทางสังคม 
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
       กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
       ยุทธศาสตร์การสอน
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก     ทำแผน IEP
          การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
    • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
    • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
    • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
    • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
           ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
    • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
    • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
    • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
          การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
    • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
    • ทำโดย “การพูดนำของครู”
           ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
    • การให้โอกาสเด็ก
    • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง


    กิจกรรมวันนี้

    อาจารย์ให้แบ่งคู่ 2 คน แล้วแจกกระดาษค่ละ 1 แผ่น สีเทียนคนละ 1 แท่ง แล้วอาจารย์ก็บอกว่าจะให้วาดรูปและจะเปิดเพลงให้ฟัง
    • โดยตั้งกติกาว่า คนนึงเป็นคนลากเส้น โดยมีข้อแม้ว่าต้องลากให้มีรูปวงกลม และคนนึง
     เป็นคนจุดเมื่อคู่ดิฉันวาดแล้วได้ดังรูป
    • เมื่อวาดเสร็จอาจารย์ให้ให้ภาพที่วาดว่าลายเส้นสามารถวาดเป็นรูปอะไรได้บ้าง 
     คู่ดิฉันวาดได้รูปงู ดังภาพ




    ประเมิน
    ประเมินตนเอง : วันนี้เข้าห้องสาย 8 นาที แต่อาจารย์ก็ใจดีปั๊มตัวปั๊มให้ ทำกิจกรรมสนุกมาก
     ตั้งใจเรียน แต่บางครั้งก็หันไปคุยกับเพื่อนข้างๆบ้าง
    ประเมินเพื่อน : เพื่อนทำกิจกรรมทายตอบคำถามอย่างสนุกสนาน หัวเราะเสียงดังอย่างมีความสุข
     ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ช่วยกันตอบคำถาม Post test 
    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมสนุกๆคลายเคลียดมาให้ทำเสมอ 
     สอนเข้าใจง่าย อาจารย์น่ารักที่สุดเลยค่ะ